• ภาษาไทย
    • English

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 : ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (สกอ. 6.1)

ตัวบ่งชี้ที่  6.1                 : ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (สกอ. 6.1)

ชนิดของตัวบ่งชี้         : กระบวนการ

การคิดรอบปี            : ปีการศึกษา

เกณฑ์มาตรฐาน

ข้อ

เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ

1

มีระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและดำเนินการตามระบบที่กำหนด

2

มีการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา

3

มีการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน

4

มีการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา

5

มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา

6

มีการกำหนดหรือสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมละมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

ผลการดำเนินงาน

ข้อ

ผลการดำเนินงาน

รายการหลักฐาน

1

มีระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและดำเนินการตามระบบที่กำหนด

    วิทยาลัยฯ มีระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ที่ส่งเสริมให้บุคลากรได้จัดกิจกรรมตามแผน และมีผลลัพธ์ชัดเจนตามแนวทางที่กำหนดไว้ตามนโยบาย เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ พันธกิจ และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปีของวิทยาลัยฯ มาอย่างต่อเนื่อง โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และกำหนดให้ทุกหน่วยงานนำระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมใช้ ในการดำเนินงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยมีการกำหนดนโยบายด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ (CHT 08-00-6.1.1-01,02,03,04) และมีการแต่งตั้งคณะกรรม การติดตามผลการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และเพื่อทำหน้าที่วางแผน กำหนดกิจกรรม วางแนวปฏิบัติ รวบรวมข้อมูล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมประจำปี และเข้าร่วมกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงกิจกรรมที่องค์กรและหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยฯ ได้จัด  (CHT 08-00-6.1.1-05) โดยหน่วยงานพัฒนานักศึกษามีการประชุมการดำเนินงานจัดทำโครงทางด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานที่วางไว้ (CHT 08-00-6.1.1-06) นอกจากนี้ ก็ยังมีการจัดสรรงบประมาณเงินรายได้และรายจ่ายของวิทยาลัยฯ เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  (CHT-08-00-6.1-1-07) และวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการตามระบบที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดกิจกรรมสำคัญที่มีมาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และโครงการถวาย เทียนพรรษา(CHT-08-00-6.1-1-08,09, 10)

CHT-08-00-6.1.1-01 คู่มือปฏิบัติงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ศรีวิชัย QA#2 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

CHT-08-00-6.1.1-02 นโยบายสภามหาวิทยาลัยด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

CHT-08-00-6.1.1-03 แผนการดำเนินงานพัฒนานักศึกษา ประจำปี การศึกษา 2556

CHT -08-00-6.1.1-04 แผนการปฏิบัติงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประจำปีการศึกษา 2556

CHT-08-00-6.1.1-05  คำสั่งที่ 027/2556 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

CHT-08-00-6.1.1-06 รายงานการประชุมฝ่ายพัฒนานักศึกษา ครั้งที่ 10/2556 ลงวันที่ 14  มกราคม  2557

CHT-08-00-6.1.1-07  เอกสารจัดสรรงบประมาณเงินรายได้ และรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ  2556-2557

CHT-08-00-6.1.1-08  สรุปผลโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (วันที่ 5 มิถุนายน 2556)

CHT-08-00-6.1.1-09  สรุปผลโครงการถวายเทียนพรรษา

CHT-08-00-6.1.1-10  สรุปผลโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (วันที่ 6  กุมภาพันธ์ 2557)

 

2

มีการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา

      วิทยาลัยฯ สนับสนุนให้ทุกสาขาและทุกหน่วยงานนำการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาโดยการนำการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไปผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาต่าง ๆ และการจัดกิจกรรมนักศึกษา เช่น โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (CHT 08-00-6.1.2-01) ซึ่ง งานพัฒนานักศึกษาได้จัดโครงการทำนุบำรุงศิลปะและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยอาจารย์สาขาภาษาต่างประเทศได้นำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการดังกล่าวและอภิปรายร่วมกันโดย สืบเนื่องจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา การอ่านขั้นสูงและรายวิชาทักษะการเขียน ภาษาอังกฤษ ซึ่งได้นำมาบูรณาการกับราย วิชาโดยการเปรียบเทียบวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของไทยและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ของชาว Tuareg ให้แก่นักศึกษา ได้มองเห็นชัดเจน ถึงความแตกต่าง ระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก โดยใช้บทความภาษา อังกฤษขนาดสั้น ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษา ตระหนักถึงคุณค่า ของศิลปวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ในรายวิชา การอ่านขั้นสูงนัก ศึกษา ได้รู้จักประเพณี การปฏิบัติในงาน แต่งงานของวัฒนธรรม อังกฤษและ วัฒนธรรมไทย ในบทความเรื่อง Masterof Majesty ผ่านกิจกรรม Metacognituve Reading Strategies

 (CHT08-00-6.1.02,03,04,05)โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้

1.ตั้งคำถามก่อนและหลังการอ่านบทความ

2.ฝึกฝนการอนุมานจากภาพและเนื้อหาในบทความเกี่ยวกับความสำคัญของราชวงศ์

3.อภิปรายเพื่อเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างเกี่ยวกับประเพณีปฏิบัติในงานแต่งงานแบบไทย และแบบอังกฤษ

4.นักศึกษาได้ประเมินความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับวัฒนธรรมการแต่งงานแบบไทยและแบบอังกฤษ

และอาจารย์สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว นำมาบูรณาการในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ โดยสืบเนื่องจากการนำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการทำนุฯ กิจกรรมการแข่งขันประกวดชุดการแสดงของภาคใต้ โดยอาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี และศิลปะความเป็นไทย แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นภาษาอังกฤษผ่านตัวละครที่มีการจำลองวัฒนธรรม ประเพณีแต่ละชนิด ซึ่งเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ฝึกทักษะในเรื่องของการเป็นมัคคุเทศก์ พร้อมทั้งยังเป็นการเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมไทย และทำให้นักศึกษาตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น (CHT08-00-6.1.06,07)

CHT-08-00-6.1.2-01   สรุปผลโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557) (อ้างอิงเอกสารCHT-08-00-6.1.1-10  )

การบูรณาการกับการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา

CHT -08-00-6.1.2-02 แผนการสอนรายวิชาอ่านขั้นสูง

CHT-08-00-6.1.2-03 บันทึกหลังการ

สอนรายวิชาการอ่านขั้นสูง

CHT -08-00-6.1.2-04  แผนการสอนรายวิชาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ

CHT-08-00-6.1.2-05 บันทึกหลักการรายวิชาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ

CHT -08-00-6.1.2-06  แผนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์

CHT-08-00-6.1.2-07 บันทึกหลักการรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์

 

 

3

มีการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อ สาธารณชน

      วิทยาลัยฯได้มีการส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานมีการเผยแพร่การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีการเผยแพร่กิจกรรมผ่านเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯและมีไวนิลในการประชาสัมพันธ์โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภาพถ่ายพื้นที่แสดงกิจกรรม   (CHT 08-00-6.1.3-01,02) นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมออกสู่ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น โครงการกิจกรรมมหาวิทยาลัยสามเหลี่ยมเศรษฐกิจภาคใต้ โดยนักศึกษาวิทยาลัยฯได้มีส่วนร่วม ในการเข้าร่วมโครงการกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านกีฬา ศิลปวัฒนธรรมและการสัมมนาวิชาการของผู้นำนิสิตนักศึกษากับประเทศเพื่อบ้าน (CHT 08-00-6.1.3-03)

CHT-08-00-6.1.3-01  หน้าเว็บไซต์วิทยาลัยและหน่วยงานมีการเผยแพร่กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรม

CHT-08-00-6.1.3-02  ภาพถ่ายพื้นที่การแสดงกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

CHT-08-00-6.1.3-03  หนังสือที่ ศธ. 0584.20/204 ลงวันที่ 7  มีนาคม  2557  เรื่อง  ขอส่งรายชื่อและเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการกิจกรรมมหาวิทยาลัยสามเหลี่ยมเศรษฐกิจภาคใต้       

 

 

4

มีการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา

     วิทยาลัยฯ ได้มีการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา เพื่อประโยชน์ต่อการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผน และปรับปรุงกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในปีการศึกษา  2557   ซึ่งสามารถสรุปผลการประเมินความสำเร็จ การบูรณาการกับการเรียนการสอนคิดเป็นร้อยละ ....88.50........ การบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ92.43 และโดยภาพรวมของการบูรณาการคิดเป็นความสำเร็จร้อยละ …90.47.. ซึ่งสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ ในการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน พบว่า นักศึกษามีความประทับใจ และสามารถนาความรู้ที่ได้ไปต่อยอดทางความคิด เพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ในการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีความภูมิใจในความเป็นคนไทย รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด และทราบถึงทักษะในการใช้ชีวิตร่วมกันผู้อื่นในสังคม (CHT 08-00-6.1.4-01,02)

CHT-08-00-6.1.4-01  รายงานการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการกับการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา   

CHT-08-00-6.1.4-02 แบบประเมินการบูรณาการกับการเรียนการสอน

5

มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา

      วิทยาลัยฯมีการนำผลการประเมินการบูรณางานด้านทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา ข้อดี ข้อเสีย และข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรมต่างๆ เข้าที่ประชุมฝ่ายพัฒนานักศึกษาเพื่อประกอบการวางแผนการจัดกิจกรรมของวิทยาลัยฯ ในปีต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนให้มีการปรับปรุงการจัดกิจกรรมสำคัญที่สนองยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนของวิทยาลัยฯ อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จากข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2556 เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ใหญ่ ฉะนั้นควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการ เพิ่มขึ้น ในปีถัดมาจึงเลื่อนเวลาในการจัดการโครงมาในช่วงวันวิชาการ เนื่องจากในวันวิชาการมีบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมด้วยจำนวนมาก (CHT-08-00-6.1.5-01,02)

CHT-08-00-6.1.5-01 รายงานการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการกับการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา  (อ้างอิงเอกสาร CHT-08-00-6.1.4-01  ) 

CHT-08-00-6.1.5-02 รายงานการประชุมฝ่าย  พัฒนานักศึกษา ครั้งที่ 11/5556 วันที่ 4 มีนาคม 2557

 

 

 

 

 

 

6

มีการกำหนดหรือสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมละมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

-

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ

1 ข้อ

มีการดำเนินการ

2 ข้อ

มีการดำเนินการ

3 ข้อ

มีการดำเนินการ

4 ข้อ

มีการดำเนินการ

5 หรือ 6 ข้อ

 

สรุปผลการประเมินตนเอง

ปีประเมิน

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้าหมาย

คะแนนตาม

เกณฑ์การประเมิน

2556

มีการดำเนินการ 5 ข้อ

มีการดำเนินการ 5 ข้อ

þ

5