• ภาษาไทย
    • English

ตัวบ่งชี้ที่ 9.1: ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (สกอ. 9.1)

ตัวบ่งชี้ที่  9.1            : ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (สกอ. 9.1)
ชนิดของตัวบ่งชี้         : กระบวนการ
การคิดรอบปี               : ปีการศึกษา

เกณฑ์มาตรฐาน

ข้อ

เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ

1

มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสถาบัน ตั้งแต่ระดับภาควิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

2

มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน

3

มีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสถาบัน

4

มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพเสนอต่อสภาสถาบันและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตาม    กำหนดเวลา โดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดใน CHE QA Online และ 3) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน

5

มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงานและส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้

6

มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ

7

มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาผู้ใช้บัณฑิตและผู้ใช้บริการตามพันธกิจของสถาบัน

8

มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบันและมีกิจกรรมร่วมกัน

9

มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นนำไปใช้ประโยชน์

ผลการดำเนินงาน

ข้อ

ผลการดำเนินงาน

รายการหลักฐาน

1

มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสถาบัน ตั้งแต่ระดับภาควิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

   วิทยาลัยฯมีการกำหนดโครงสร้างหน่วยงานให้มีหน่วยประกันคุณภาพการศึกษาภายใต้รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัยโดยได้มอบหมายให้หน่วยประกันคุณภาพการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบ กำกับดูแล ติดตามงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ  (CHT 08-00-9.1.1-01)  มหาวิทยาลัยมีการกำหนดให้หน่วยงานดำเนินการตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตั้งแต่ระดับภาควิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่าอย่างต่อเนื่อง  ทุกภาคส่วน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำระบบประกันคุณภาพมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิทยาลัยฯ ร่วมกัน โดยใช้คู่มือปฏิบัติงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน “ศรีวิชัย”QA#2 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ (CHT 08-00-9.1.1-02)  ซึ่งทางหน่วยประกันคุณภาพการศึกษาได้แจ้งให้บุคลากรทุกท่านประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในปีทีผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางและดำเนินจัดทำแผนการพัฒนาปรับปรุงงานประกันคุณภาพการศึกษา ในปีต่อไป (CHT 08-00-9.1.1-03,04)  และได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาวิทยาลัยฯ และคณะกรรมการผู้รับผิดชอบและประสานงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา  2556 และคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับสาขา ปีการศึกษา  2556เพื่อกำกับดูแลตัวชี้วัดพร้อมทั้งสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินงานและแก้ปัญหาต่าง ๆ (CHT 08-00-9.1.1-05,06,07) โดยที่คณะกรรมการมีส่วนในการส่งเสริมและสนับสนุนงานประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานของหน่วยประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ เพื่อวางกรอบแนวทางที่จะขับเคลื่อนการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ ไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จ และให้เป็นไปตามความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้และหน่วยงานภายในที่ได้กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละตัวบ่งชี้ (CHT 08-00-9.1.1-08,09) ซึ่งครอบคลุมทุกพันธกิจหลักรวมถึงด้านการบริหารจัดการ และมีการพิจารณากำหนดค่าเป้าหมายคุณภาพของการดำเนินการตามตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมกับการพัฒนาการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2556  ซึ่งหน่วยประกันคุณภาพการศึกษาได้นำผลการทบทวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในปีที่ผ่านมาเข้าที่ประชุมผู้บริหารเพื่อดำเนินการวางแผนในปีต่อไป และได้นำเป้าหมายคุณภาพการศึกษาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาเป้าหมายคุณภาพฯ (CHT 08-00-9.1.1-10)  เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสานักงานวิทยาลัยฯ ยังได้มีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพของกระบวนการสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ ในการประสานดำเนินการของฝ่ายปฏิบัติงานด้านประกันคุณภาพฯ นั้น อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงขั้นตอน กระบวนการดำเนินงานการประกันคุณภาพของวิทยาลัยฯ

CHT 08-00-9.1.1-01 โครงสร้างการบริหารงานของวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว 

CHT 08-00-9.1.1-02 คู่มือปฏิบัติงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ศรีวิชัย “QA#2 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ

CHT 08-00-9.1.1-03  หนังสือที่ ศธ.0584.14/814  ลงวันที่  24  กันยายน  2555 เรื่อง ทบทวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา  2555

CHT 08-00-9.1.1-04  หนังสือที่ศธ. 0584.14/952  ลงวันที่  15  พฤศจิกายน  2555 เรื่อง สรุปผลแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา  2555 และแผนพัฒนาปรับปรุงแก้ไขจากผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน

CHT 08-00-9.1.1-05  คำสั่งแต่งตั้งคระกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา  ประจำปีการศึกษา  2556 

CHT 08-00-9.1.1-06  คำสั่งที่ 073/2556 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบและประสานงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา  2556

CHT 08-00-9.1.1-07  คำสั่งที่ 089/2556 เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบและประสานงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับสาขา 

CHT 08-00-9.1.1-08   หนังสือที่ ศธ. 0584.14/689 ลงวันที่  15  สิงหาคม  2556 เรื่องแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

CHT 08-00-9.1.1-09  หนังสือที่ ศธ. 0584.14/827  ลงวันที่  27  กันยายน  2556 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้และหน่วยงานภายใน ประจำปีการศึกษา  2556  

CHT 08-00-9.1.1-10 หนังสือที่ศธ.0584.14/920  ลงวันที่  4 พฤศจิกายน   2556  เรื่อง เป้าหมายคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2556

CHT 08-00-9.1.1-11 รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 3/2556 ลงวันที่ 25 กันยายน  2556

       - เป้าหมายคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา  2556

CHT 08-00-9.1.1-12 รายงานการประชุมผู้บริหาร

        - ทบทวนผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2555

 

2

มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน

     สภามหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา และมอบนโยบาย 6 ด้านเพื่อให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการให้ครบถ้วนตามนโยบายต่าง ๆ ให้ครบถ้วน (CHT 08-00-9.1.2-01)  วิทยาลัยฯ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานของวิทยาลัยฯและแก้ไขปัญหาการต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมการบริหารมีส่วนร่วมในการพิจารณานโยบายงานประกันคุณภาพการศึกษาและนโยบายต่าง ๆ ของวิทยาลัยฯ และให้ความสำคัญมีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยคณะกรรมการบริหาร ของวิทยาลัยฯ ในการแจ้งนโยบายต่าง ๆ ให้แก่บุคลากรทราบ ในส่วนของการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารได้ให้ความสำคัญและกำหนดนโยบายการคุณภาพการศึกษา (CHT 08-00-9.1.2-02,03) เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเป็นเครื่องมือควบคุมคุณภาพฯ ด้วย และคณะกรรมการบริหาร ได้ให้ความสำคัญติดตามรับทราบและพิจารณาให้ความคิดเห็นในการปรับปรุงพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กำกับดูแลและรับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาด้วยนั้น ได้ให้ความสำคัญในการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ ดังกล่าว  รวมทั้งมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ผ่านสื่อต่าง ๆทางเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯ  (CHT 08-00-9.1.2-04) เพื่อสื่อสารผลการดำเนินการรับฟังข้อมูลป้อนกลับและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรได้รับทราบและตระหนักถึงการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อการดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมหาวิทยาลัยฯได้มีการประกาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในเรื่อง ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ศรีวิชัย QA ฉบับที่ 2 เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานทางด้านประกันคุณภาพการศึกษา (CHT 08-00-9.1.2-05)ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เรื่อง ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ศรีวิชัย QA ฉบับที่ 2

CHT 08-00-9.1.2-01  รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2551 เรื่อง นโยบายประกันคุณภาพการศึกษา 6 ด้าน

CHT 08-00-9.1.2-02  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา  2556

CHT 08-00-9.1.2-03 หนังสือที่ ศธ. 0584.14/ ลงวันที่ 14  พฤศจิกายน  2556 เรื่อง นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา     

CHT 08-00-9.1.2-04  เว็บไซต์ วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว

-  นโยบายประกันคุณภาพการศึกษา

CHT 08-00-9.1.2-05  ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  เรื่อง  ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ศรีวิชัย QA ฉบับที่ 2

3

มีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสถาบัน

     วิทยาลัยได้มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยมีการกำหนดการควบคุมคุณภาพ การติดตามการดำเนินงาน และการประเมนคุณภาพตามวงจร PDCA ที่มีขอ้มุลครบถ้วนตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากำหนดไว้จำนวน 9 องค์ประกอย 23 ตัวบ่งชี้ และมหาวิทยาลัยมีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย อีก 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 10 “อัตลักษณ์ของ มทร.ศรีวิชัย” จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 11 “คุณภาพของสายสนับสนุนจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ตัวทั้งหมด 53 ตัวบ่งชี้ ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย คราวประชุมครั้งที่ 10/2555  แจ้งมติให้ทราบในการกำหนดตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา เพิ่มเติม ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ซึ่งสอดคล้องตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย (CHT 08-00-9.1.3-01) ดังปรากฏในการกำหนดเป้าหมาคุณภาพการศึกษา  ประจำปีการศึกษา  2556        (CHT 08-00-9.1.3-02) และคู่มือการปฏิบัติงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในแต่ละองค์ประกอบเพื่อเป็นแนวทางในการชี้นำการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาแต่ละองค์ประกอบ (CHT08-00-9.1.3-03,04)  

 

CHT 08-00-9.1.3-01  หนังสือที่ศธ.0584.23/479 ลงวันที่ 8  พฤศจิกายน  2555 เรื่อง  แจ้งมติสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ครั้งที่ 10/2555

CHT 08-00-9.1.3-02  เป้าหมายคุณภาพการศึกษา  ประจำปีการศึกษา  2556

CHT 08-00-9.1.3-03 คู่มือระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ฉบับที่ 2 (Srivijaya Quality Manual: Sivijaya QM# 2)  

CHT 08-00-9.1.3-04 คู่มือการปฏิบัติงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (Srivijaya Procedure Manual : Srivijaya PM) องค์ประกอบที่ 10 และองค์ประกอบที่ 11    

4

มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพเสนอต่อสภาสถาบันและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตาม              กำหนดเวลา โดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดใน CHE QA Online และ 3) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน

      เพื่อให้การควบคุมคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว หน่วยประกันคุณภาพการศึกษามีการจัดส่งแบบฟอร์มการดำเนินงานกรอกข้อมูลให้แก่ผู้รับผิดชอบในแต่ละตัวชี้วัดผ่านทาง E-mail Address ของแต่ละคนตั้งแต่รอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือนและดำเนินการแจ้งรายละเอียดให้แต่ละสาขาดำเนินการแต่ละองค์ประกอบว่ารับผิดชอบในองค์ประกอบอะไรบ้างและให้จัดทำรายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา  2556 เพื่อจัดทำข้อมูลและจัดส่งมายังหน่วยประกันคุณภาพการศีกษาต่อไป (CHT 08-00-9.1.4-01,02) โดยได้ติดตามหน่วยประกันคุณภาพการศึกษาได้จัดหนังสือติดตามทวงถามข้อมูลรายงานการประเมินตนเองไปยังหน่วยงานที่ยังไม่ได้ดำเนินการจัดส่งข้อมูลมายังหน่วยประกันคุณภาพการศึกษา (CHT 08-00-9.1.4-03,04) และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ รวบรวมและติดตามผลการดำเนินงานของวิทยาลัยฯ และนำผลการดำเนินงานประเมินตนเองเข้าที่ประชุมผู้บริหารเพื่อให้รับทราบและดำเนินการพัฒนาต่อไป (CHT 08-00-9.1.4-05,06) และมีการประเมินตนเองและจัดทารายงานการประเมินตนเองเพื่อรับการตรวจเยี่ยม/ ประเมินผลการดำเนินการประกันคุณภาพฯจากคณะกรรมการตรวจประเมินฯระดับวิทยาลัยฯ (CHT 08-00-9.1.4-07) และได้ดำเนินการกรอกข้อมูลในระบบ CHE QA Onlio เพื่อส่งข้อมูลไปยังสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาต่อไปและเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะผ่านทางเว็บไซต์ของวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว www. cht.rmutsv.ac.th ( CHT 08-00-9.1.4-09,08)  และได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยฯ ประจำปีการศึกษา 2555 ไปจัดทำเป็นแผนพัฒนาคุณภาพ โดยได้มอบหมายให้หน่วยประกันคุณภาพฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการวางแผนการพัฒนาเพื่อใช้ปรับปรุงและเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ ต่อไป ( CHT 08-00-9.1.4-09) ทั้งนี้ได้มีการเผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา  2555 และแผนพัฒนาคุณภาพดังกล่าวสู่สาธารณะผ่านทางเว็บไซต์วิทยาลัยฯ (CHT 08-00-9.1.4-10)

CHT 08-00-9.1.4-01  หนังสือที่ ศธ. 0584.14/872  ลงวันที่ 17  ตุลาคม  2556 เรื่อง ส่งแบบฟอร์มรายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา  2556 (รอบ 6 เดือน)

CHT 08-00-9.1.4-02 หนังสือที่ ศธ. 0584.14/11  ลงวันที่ 7  มกราคม  2557 เรื่อง ส่งแบบฟอร์มรายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา  2556 (รอบ 9 เดือน)

CHT 08-00-9.1.4-03 หนังสือที่ ศธ. 0584.14/ 999 ลงวันที่ 11 ธันวาคม  2556 เรื่อง ติดตามรายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา  2556 (รอบ 6 เดือน)

CHT 08-00-9.1.4-04 หนังสือที่ ศธ.0584.14/128  ลงวันที่ 4 มีนาคม  2557  เรื่อง ติดตามรายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา  2556 (รอบ 9 เดือน)

CHT 08-00-9.1.1-05  คำสั่งแต่งตั้งคระกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา  ประจำปีการศึกษา  2556 

CHT 08-00-9.1.1-06  รายงานการประชุม ผู้บริหาร

- แจ้งผลการดำเนินงานรายงานการประเมินตนเอง รอบ 6 เดือน รอบ 9 เดือน รอบ 12 เดือน

CHT 08-00-9.1.4-07  รูปเล่มรายงานการประเมินตนเอง  ประจำปีการศึกษา   2556

CHT 08-00-9.1.4-08  หน้าเว็บไซต์ CHE QA Onlio  สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

CHT 08-00-9.1.4-09  หน้าเว็บไซต์ วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว

 - ผลการดำเนินงานรายงานการประเมินตนเอง  ประจำปีการศึกษา  2555

CHT 08-00-9.1.4-10 ทบทวนผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาและแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา  2555

 

5

มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงานและส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้

      วิทยาลัยฯ ได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน วิทยาลัยฯ ประจาปีการศึกษา 2555 ไปทบทวนผลการดำเนินงานและประกอบการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพมาปรับใช้ในปีต่อไป และได้มีการดำเนินการเปรียบเทียบเป้าหมายตัวชี้วัด ของปี 55-56 ซึ่งผลการดำเนินงานดังกล่าวดีขึ้นทุกตัวบ่งชี้ (CHT 08-00-9.1.5-01,02)

CHT 08-00-9.1.5-01 สรุปผลแนวทางการทบทวนผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา  ประจำปีการศึกษา  2555.

CHT 08-00-9.1.5-02  รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา  2553-2555

 

6

มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ

     วิทยาลัยมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบดังนี้

     - องค์ประกอบที่ 1  ปรัชญา  ปณิธาน  วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน ใช้ระบบสารสนเทศของหน่วยนโยบายและแผนประกอบด้วยแผนปฏิบัติงานประจำปีและแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน

    - องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต มีระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอน คือ ระบบสารสนเทศนักศึกษา ซึ่งสามารถเข้าไปในเว็บไซต์เพื่อดูเกรด ลงทะเบียน และแสดงความเห็นต่อการสอนของอาจารย์

    - องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมพัฒนานักศึกษา เว็บไซต์งานพัฒนานักศึกษา ซึงมีโครงการ/กิจกรรม และฐานข้อมูลศิษย์เก่า ฐานข้อมูลบริการนักศึกษาเกี่ยวกับทุนการศึกษา และกองทุนกู้ยืม

    - องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย ผ่านทางเว็บไซต์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา คือ ทุนวิจัยภายใน และแหล่งเงินทุนวิจัยต่างประเทศและจรรยาบรรณของนักวิจัยเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์วิทยาลัยฯ

     - องค์ประกอบที่ 5 การบริการทางวิชาการแก่สังคม ซึ่งผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยบริการทางวิชาการของวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว

    - องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผ่านทางเว็บไซต์ของงานพัฒนานักศึกษา คือ แผนการจัดทำกิจกรรมของงานพัฒนานักศึกษา

   - องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดโดยมีการจัดทำโครงสร้างของผู้บริหารผ่านทางเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯโดยมีการแบ่งแยกแต่ละหน่วยงานอย่างมีความชัดเจน และมีการนำรายงานการประชุม และข้อบังคับต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯ

   - องค์ประกอบที่ 8 การเงินและงบประมาณ มีการเผยแพร่ข้อมูลแลรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเงินและงบประมาณ คือ ระบบบัญชี 3 มิติ ระบบบริการสารสนเทศ

   - องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯเพื่อให้แต่ละหน่วยงานสามารถเข้าไปดาวน์โหลดข้อมูลต่าง ๆ ได้คือ คูมือ Srivijaya QA และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นต้น (CHT 08-00-9.1.6-01)

CHT 08-00-9.1.6-01  หน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 9 องค์ประกอบ    

7

มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาผู้ใช้บัณฑิตและผู้ใช้บริการตามพันธกิจของสถาบัน

     วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยวได้มีการส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของวิทยาลัยฯ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ โดยเฉพาะผู้ใช้บัณฑิตและผู้รับบริการตามพันธกิจหลักของวิทยาลัยฯ  เช่น ศิษย์เก่า ห้องสมุด ได้เข้ามีมาส่วนร่วมในการประกันคุณภาพ ทั้งในรูปแบบของการร่วมเป็นคณะกรรมการ การให้ข้อมูลป้อนกลับผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้ เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินการเรียนการสอนออนไลน์ทุกกระบวนวิชาทุกภาคการศึกษาผ่านทางเว็บไซต์ (CHT 08-00-9.1.7-01) เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอนของคณาจารย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการสำรวจภาวะการณ์มีงานทาของบัณฑิตวิทยาลัยฯ (CHT 08-00-9.1.7-02)  เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้บัณฑิตวิทยาลัยฯ มีโอกาสได้งานทำมากขึ้น และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการประเมินคุณภาพภายนอก เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บัณฑิตได้มีส่วนร่วมในการประเมินคุณลักษณะของบัณฑิตตามแบบฟอร์มของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต และใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินคุณภาพภายนอก (CHT 08-00-9.1.7-03) งานประกันคุณภาพการศึกษาได้จัดโครงการการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา  (CHT 08-00-9.1.7-04) เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพการศึกษาและตระหนักถึงงานประกันคุณภาพการศึกษามากขึ้น ซึ่งหน่วยประกันคุณภาพศึกษาได้เชิญผู้แทนของกลุ่มนักศึกษา ศิษย์เก่า  (CHT 08-00-9.1.7-05) ผู้ประกอบการ มาเข้าร่วมรับฟังและร่วมเป็นตัวแทนในการรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา  2555  (CHT 08-00-9.1.7-06)  เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในการนำแนวทางของการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการจัดกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีนักศึกษาจากวิทยาลัยพลศึกษา และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ซึ่งเป็นสถาบันที่ลงนามความร่วมมือเครือข่ายด้านประกันคุณภาพการศึกษาเข้าร่วมโครงการฯ โดยได้จัดให้เวทีให้นักศึกษาต่างสถาบันได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการนำแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมของนักศึกษา ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้นักศึกษาสร้างเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพระหว่างสถาบันขึ้น (CHT 08-00-9.1.7-07) ซึ่งงานพัฒนานักศึกษา ได้มีกิจการรมและการจัดโครงการสมาคมศิษย์เก่าพบผู้บริหารวิทยาลัยฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านนโยบาย การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตที่ตลาดแรงงานต้องการ แนวทางในการหาสถานที่ประกอบการให้กับนักศึกษาได้ฝึกงานและการได้งานทำของบัณฑิต และแนวทางการแสวงหาแหล่งทุน เป็นต้น (CHT 08-00-9.1.7-08)

CHT 08-00-9.1.7-01 แบบประเมินผลการเรียนการสอน

CHT 08-00-9.1.7-02 แบบสอบถามภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต ประจำปีการศึกษา  2556 (ทางเว็บไซต์) 

CHT 08-00-9.1.7-03  แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ใช้บัณฑิต

CHT 08-00-9.1.7-04 โครงการการประกันคุณภาพการศึกษา แก่นักศึกษา  ประจำปีการศึกษา  2556

CHT 08-00-9.1.7-05 หนังสือเชิญศิษย์เก่า

CHT 08-00-9.1.7-06 หนังสือเชิญผู้ประกอบการ

CHT 08-00-9.1.7-07 เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษา

CHT 08-00-9.1.7-08  โครงการสมาคมศิษย์เก่า

8

มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบันและมีกิจกรรมร่วมกัน

     วิทยาลัยฯ ได้ร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบันต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา โดยในปัจจุบันมีการลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านประกันคุณภาพการศึกษา 7 สถาบัน ซึ่งทางกลุ่มเครือข่ายได้ร่วมกันจัดทาแผนและกำหนดการในการดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับงานประกันคุณภาพในรอบปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม (CHT 08-00-9.1-8-01)

      และได้ให้บุคลากรเข้ารวมโครงการประกวดแนวฏิบัติที่ดีในการบูรณาการการจัดการความรู้สู่ประชาคมอาเซียนระดับอุดมศึกษาเพื่อมาเป็นความรู้และสามารถนำมาพัฒนากับงานของตัวเองได้เป็นอย่างดี วิทยาลัยฯได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทางกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านประกันคุณภาพการศึกษาที่ส่งตัวแทนของผู้บริหารและบุคลากรของวิทยาลัยฯ  เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษากับทางกลุ่มความร่วมมือด้านประกันคุณภาพการศึกษา (CHT 08-00-9.1.8-01-02,03)

CHT 08-00-9.1.8-01 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาองค์กรภาคเอกชนในจังหวัดตรัง

CHT 08-00-9.1.8-02  หนังสือที่ ศธ.0584.23/527 ลงวันที่ 11 ธันวาคม  2556 เรื่อง เชิญเข้าร่วมโครงการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices)”การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ประชาคมอาเซียน

CHT 08-00-9.1.8-03  หนังสือที่ ศธ. 0584.23/68  ลงวันที่ 28  มกราคม  2557 เรื่อง ขออนุญาตให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี

CHT 08-00-9.1.8-04  หนังสือที่ สศต..145/2556 ลงวันที่ 22  สิงหาคม 2556 เรื่อง เชิญเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายตามพันธกิจ MOU7 สถาบันศึกษา 2 องค์กรภาคเอกชนในจังหวัดตรัง

 

9

มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นนำไปใช้ประโยชน์

   วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว ได้มีการดำเนินงานทางด้านประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีระบบและกลไกในการพัฒนาด้านการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งมีการกำหนดนโยบายทางด้านการประกันคุณภาพากรศึกษาที่ชัดเจนขึ้นและมีความก้าวหน้าในด้านของงานประกันคุณภาพการศึกษาที่ระดับผลการดำเนินงานทีพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีและเป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้นจึงทำให้เกิดผลงานทางด้านวิจัยในเรื่อง  ของความก้าวหน้าในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว (CHT 08-00-9.1.9-01)

CHT 08-00-9.1.9-01  รายงานการวิจัยเรื่อ ความก้าวหน้าในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ

1 ข้อ

มีการดำเนินการ

2 หรือ 3 ข้อ

มีการดำเนินการ

4 หรือ 5 ข้อ หรือ 6 ข้อ

มีการดำเนินการ

7 หรือ 8 ข้อ

มีการดำเนินการ

9 ข้อ

สรุปผลการประเมินตนเอง

ปีประเมิน

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้าหมาย

คะแนนตาม

เกณฑ์การประเมิน

2556

มีการดำเนินการ 8 ข้อ

มีการดำเนินการ 9 ข้อ

þ

5