• ภาษาไทย
    • English

ตัวบ่งชี้ที่ 10.0.2

ตัวบ่งชี้ที่  10.0.2       : กระบวนการจัดการเรียนการสอน ใช้ทักษะที่มีเทคโนโลยีเป็นฐาน  (Technology Based Education-Training) (Srivijaya)
ชนิดของตัวบ่งชี้              : กระบวนการ
การคิดรอบปี                   : ปีการศึกษา

เกณฑ์มาตรฐาน

ข้อ

เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ

1

กระบวนการเรียนการสอนให้ความสำคัญกับ Technology Based และฝึกทักษะในการทำงาน

2

นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ เครื่องมือ อุปกรณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3

นักศึกษามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน Technology  Based กับชุมชน สังคม ภายใต้การให้คำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน

4

นักศึกษาใช้หลัก Technology  Based ในงานวิจัย โครงงาน กรณีศึกษา

5

ติดตามและประเมินผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักศึกษามีการพัฒนาการเรียนรู้ทักษะ วิชาชีพ

ผลการดำเนินงาน

ข้อ

ผลการดำเนินงาน

รายการหลักฐาน

1

กระบวนการเรียนการสอนให้ความสำคัญกับ Technology Based และฝึกทักษะในการทำงาน

       วิทยาลัยฯ ได้มีการจัดการเรียนการสอนโดยนำ Technology Based และการฝึกทักษะในด้านการทำงานสอดแทรกในรายวิชาและยังมีรายวิชาที่สอนด้านTechnology โดยตรงซึ่งปรากฏดังนี้

  1. สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว  รายวิชาปัญหาพิเศษ  และรายวิชาสัมมนาทางการโรงแรมและการท่องเที่ยว
  2. สาขาบริหารธุรกิจ  ปรากฏในรายวิชาโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี
  3. สาขาภาษาต่างประเทศ  ปรากฏในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาบันเทิง

นอกจากนั้นยังมีรายวิชาที่ประกอบอยู่ในรายวิชาทางด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวโดยมีการบันทึกการเก็บรายชั่วโมงการฝึกทักษะภายในของนักศึกษา

(อ้างอิงรายการหลักฐาน CHT.08-00-10.0.2.1-01,02,03,04,05)

CHT.08-00-10.0.2.1-01 มคอ.3 รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว

CHT.08-00-10.0.2.1-02 แผนการสอนรายวิชาปัญหาพิเศษ

CHT.08-00-10.0.2.1-03  แผนการสอนรายวิชาสัมมนาทางการโรงแรมและการท่องเที่ยว

CHT.08-00-10.0.2.1-04  แผนการสอนรายวิชาโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี

CHT.08-00-10.0.2.1-05  มคอ.3 ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาบันเทิง

 

2

นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ เครื่องมือ อุปกรณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        วิทยาลัยฯ มีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่ให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ  เครื่องใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยปรากฏอย่างชัดเจนในรายวิชาการปฏิบัติการงานครัว  รายวิชาอาหารและเครื่องดื่ม  และรายวิชาการออกแบบอาหารสำหรับงานโรงแรม ซึ่งรายวิชาเหล่านี้เป็นรายวิชาที่มีการปฏิบัติในห้องปฏิบัติการด้านอาหารและนักศึกษาได้ใช้เครื่องมือสำหรับจัดทำอาหาร  จึงทำให้นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะต่างๆ โดยเฉพาะการนำอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้อย่างได้ผล

(อ้างอิงรายการหลักฐาน CHT-08-00-10.0.2.2-01,02,03)

CHT.08-00-10.0.2.2-01 แผนการสอน และบันทึกหลังการสอนรายวิชาการปฏิบัติการงานครัว ภาคการศึกษาที่ 2/56

CHT.08-00-10.0.2.2-02  มคอ.3 รายวิชาการดำเนินงานและบริการอาหารและเครื่องดื่ม

CHT. 08-00-10.0.2.2-03  มคอ.3รายวิชาการออกแบบอาหารสำหรับงานโรงแรม

 

3

นักศึกษามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน Technology  Based กับชุมชน สังคม ภายใต้การให้คำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน

       วิทยาลัยฯ มีนโยบายให้อาจารย์ผู้สอนสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับชุมชน สังคม โดยมีอาจารย์ผู้สอนคอยให้คำแนะนำโดยมีการจัดโครงการเสริมสร้างและกิจกรรมขึ้นระหว่างนักศึกษาและบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการดังกิจกรรมต่อไปนี้

  1. กิจกรรมทัศนศึกษาภาคเหนือ กิจกรรมนี้ทำให้นักศึกษาได้รู้จักสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทยได้มากขึ้นและสามารถนำไปขอบัตรประกอบวิชาชีพได้
  2. โครงการพัฒนาทักษะด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวสู่การเป็นมืออาชีพ  กิจกรรมย่อยที่ 2 โครงการทัศนศึกษาภาคกลาง-อีสานเป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาออกฝึกปฏิบัติยังจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางและอีสาน
  3. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โครงการย่อยที่ 7 โครงการอบรมภาษาอังกฤษแก่แกนนำยุวมัคคุเทศก์ป่าชายเลน ซึ่งเป็นโครงการที่นำนักศึกษาร่วมกับบุคคลภายนอกในการถ่ายทอดด้านภาษาอังกฤษให้แก่ชุมชน
  4. การนำนักศึกษาออกศึกษานอกสถานที่ ณ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
  5. การเชิญบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญระดับอาชีพมาเป็นวิทยากรในโครงการบริษัททัวร์จำลอง
  6. สรุปรายการนำเสนอในเชิงสารคดีในรายวิชาสารสนเทศเพื่อธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว(อ้างอิงรายการหลักฐาน CHT.08-00-10.0.2.3-01,02,03,04,05,06)

CHT. 08-00-10.0.2.3-01 บันทึกข้อความขออนุมัติจัดกิจกรรมทัศนศึกษาภาคเหนือ

CHT. 08-00-10.0.2.3-02 บันทึกข้อความขออนุมัติและดำเนินโครงการพัฒนาทักษะด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวสู่การเป็นมืออาชีพ  กิจกรรมย่อยที่ 2 โครงการทัศนศึกษาภาคกลาง-อีสาน

CHT.08-00-10.0.2.3-03  สรุปโครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โครงการย่อยที่ 7 โครงการอบรมภาษาอังกฤษแก่แกนนำยุวมัคคุเทศก์ป่าชายเลน

CHT. 08-00-10.0.2.3-04 บันทึกข้อความขออนุมัตินำนักศึกษาออกนอกสถานที่

CHT. 08-00-10.0.2.3-05 หนังสือเรียนเชิญเป็นวิทยากร บุคลากรจากภายนอกจากโครงการบริษัททัวร์จำลอง

CHT. 08-00-10.0.2.3-06 สรุปรายการนำเสนอในเชิงสารคดี

 

 

4

นักศึกษามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน Technology  Based กับชุมชน สังคม ภายใต้การให้คำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน

            วิทยาลัยฯ มีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปัญหาพิเศษทางการโรงแรมและการท่องเที่ยวโดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาจัดทำงานวิจัยเพื่อชุมชน และใช้โปรแกรมExcel และ SPSS ในการวิเคราะห์ผลการวิจัย (อ้างอิงรายการหลักฐาน CHT. 08-00-10.0.2.4-01,02,03)

CHT. 08-00-10.0.2.4-01 แผนการสอนรายวิชาปัญหาพิเศษ

CHT.08-00-10.0.2.4-02 แผ่น CD งานวิจัยและการนำเสนองานวิจัย

CHT.08-00-10.0.2.4-03 ตัวอย่างงานวิจัยของนักศึกษา

 

5

ติดตามและประเมินผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักศึกษามีการพัฒนาการเรียนรู้ทักษะวิชาชีพ

          วิทยาลัยฯ  ได้ดำเนินการติดตามและประเมินผลกิจกรรมที่ได้เพื่อให้นักศึกษามีการพัฒนาการเรียนรู้ทักษะ วิชาชีพที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีการติดตามอย่างเป็นระบบเช่นมีการประเมินผลและติดตามในรายวิชาปัญหาพิเศษ  มีการจัดการฝึกทักษะภายในและมีการประเมินผลก่อนส่งนักศึกษาออกฝึกงานภายนอก  (อ้างอิงรายการหลักฐาน CHT. 08-00-10.0.2.5-01,02)

CHT.08-00-10.0.2.5-01 ผลคะแนนในรายวิชาปัญหาพิเศษ

CHT.08-00-10.0.2.5-02 สมุดบันทึกรายงานจำนวนชั่วโมงการฝึกทักษะภายในของศูนย์วิสาหกิจ

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ

1 ข้อ

มีการดำเนินการ

2 ข้อ

มีการดำเนินการ

3 ข้อ

มีการดำเนินการ

4 ข้อ

มีการดำเนินการ

5 ข้อ

สรุปผลการประเมินตนเอง

ปีประเมิน

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้าหมาย

คะแนนตาม

เกณฑ์การประเมิน

2556

มีการดำเนินการ 5 ข้อ

มีการดำเนินการ 5 ข้อ

Q

5